ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลกำลังเตรียมชันสูตรซากวาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์ม เพศผู้ ความยาว 18 เมตร ยักษ์ใหญ่ผู้สง่างามแห่งท้องทะเลที่ขึ้นมาเกยตื้นเสียชีวิตบนชายหาด Yeh Leh เมือง Jembrana บาหลี ประเทศอินโดนีเซียเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต
.
วาฬหัวทุยตัวดังกล่าวพบขึ้นมาเกยตื้นบนหาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา ก่อนชาวบ้าน และ เจ้าหน้าที่ทางทะเลและการประมงท้องถิ่น จะร่วมมือกันช่วยผลักดันกลับสู่ท้องทะเล แต่ทว่าหลังวาฬหัวทุยว่ายน้ำห่างออกไปจากฝั่งได้ไม่กี่ชั่วโมง ชาวบ้านกลับพบเขากลับมานอนเกยตื้นบนชายหาดอีกครั้งในสภาพที่ไร้ลมหายใจ โดยไม่พบร่องรอยบาดแผลการถูกทำร้ายตามลำตัว แต่ทว่าสภาพร่างกายของเขาซูบผอมคล้ายป่วยหนัก
.
“เรายังคงต้องตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของวาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์มตัวดังกล่าวต่อไป เพราะเราต้องการคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ว่าเกิดจากมลพิษทางทะเล หรือพลาสติกที่วาฬหัวทุยกลื่นกินเข้าไปกันแน่”
เปอร์มานา ยูเดียร์โซ (Permana Yudiarso) เจ้าหน้าที่ทางทะเลและการประมงท้องถิ่น กล่าวกับสำนักข่าว AFP ประเทศสหรัฐอเมริกา
.
เปอร์มานา ยูเดียร์โซ
.
วาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์ม จัดว่าเป็นสัตว์นักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) กำหนดให้วาฬหัวทุยเป็นสัตว์ที่อยู่ในสภาวะ “เสี่ยง” ต่อการสูญพันธุ์
วาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์ม
.
หลังวาฬหัวทุยตัวดังกล่าวเสียชีวิตลง สัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ได้เดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบและสืบหาสาเหตุการตายทันที ซึ่งหลังจากสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบแล้วซากวาฬหัวทุยก็จะถูกเคลื่อนย้ายนำไปฝังไว้ในสถานที่ที่เหมาะสมต่อไป
.
“วันนี้เราจะเริ่มทำการชันสูตรซากวาฬหัวทุย และหลังจากนั้นเราจะฝังซากเขาไว้ในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเหมาะสมต่อไป”
เปอร์มานากล่าวเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2566 กับสำนักข่าว AFP ประเทศสหรัฐอเมริกา
.
.
เปอร์มานากล่าวว่า อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ในการชันสูตรซากวาฬหัวทุยเพื่อการสรุปผลที่แน่ชัดถึงสาเหตุการเสียชีวิต แต่เบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลว่า ได้ตรวจพบบริเวณด้านในปอดของวาฬหัวทุยมีเลือดออกและที่บริเวณลำไส้ก็เต็มไปด้วยของเหลว
.
วาฬหัวทุยผู้โชคร้ายตัวดังกล่าวนับว่าเป็นวาฬตัวที่ 3 แล้วที่ขึ้นมาเกยตื้นเสียชีวิตบนหาดประเทศอินโดนีเซียในช่วงเดือนเมษายนนี้
.
ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นได้ทำการปิดล้อมบริเวณปกป้องซากวาฬหัวทุย เพื่อป้องกันประชาชนในพื้นที่แอบเข้ามาขโมยเนื้อวาฬหัวทุยไปบริโภคด้วย
.
เปอร์มานากล่าวเพิ่มเติมว่า วาฬมักจะว่ายเข้าใกล้ชายฝั่งมากอย่างผิดปกติ เมื่อรู้ตัวว่ากำลังป่วยหนัก หรือ กำลังจะหมดลมหายใจ
.
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เคยมีวาฬหัวทุยตัวหนึ่งขึ้นมาเกยตื้นเสียชีวิตบนหาดในบาหลี ซึ่งภายหลังการชันสูตรทำให้ทราบสาเหตุการเสียชีวิตว่า เกิดจากการกลืนกินถ้วยพลาสติกมากกว่า 100 ใบ และถุงพลาสติกอีกจำนวน 25 ใบเข้าไป ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวได้สร้างความกังวลใจอย่างหนักให้กับเจ้าหน้าที่และนักอนุรักษ์ทั้งประเทศ
.
สำนักข่าว AFP ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประเทศอินโดนีเซียยังถูกจัดอันดับให้เป็นผู้ทิ้งขยะลงสู่ท้องทะเลมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีนด้วย!
.
.
.
.
ช่วยกดไลก์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ Dog’s Clip ด้วยนะครับ
หากมีประสบการณ์ หรือเรื่องราวที่น่าสนใจของเหล่าเพื่อนสัตว์
อย่าลืมส่งมาแบ่งปันด็อกคลิปนะครับ เรื่องราวของคุณอาจสร้างแรงบันดาลใจ
หรือช่วยให้เหล่าเพื่อนสัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
กดเพื่อเข้าร่วมกลุ่มด็อกคลิป , กดเพื่อส่งเรื่องราวของคุณ หรือติดแฮชแท็ก #dogsclip
..................................................................
บทความโดย dogsclip.com
“บทความถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่ด้วยสำนวนของด็อกคลิป บทความมีลิขสิทธิ์ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก และ หรือ ดัดแปลงนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อสร้างรายได้ก่อนได้รับอนุญาต”
.
.