พบปลาทองยักษ์ในแม่น้ำ ผู้เชี่ยวชาญไม่ปลื้ม ชี้!เป็นสัตว์รุกราน ย้ำ!ไม่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ

...กำลังโหลดข้อมูล...

.

.

.

ใครจะไปคิดว่าปลาทองแสนน่ารักในตู้ปลาจะกลายเป็น "สัตว์ตัวยักษ์ผู้รุกราน" ที่ทำให้ระบบนิเวศพังได้ ล่าสุด! เจ้าหน้าที่จาก U.S. Fish and Wildlife Service (USFWS) พบปลาทองตัวใหญ่เบิ้มในเขตอุทยานแห่งรัฐเพรสไคล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนจะออกมาเตือนประชาชนว่า "การปล่อยปลาทองลงในแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ได้เป็นเรื่องดี แต่อาจสร้างปัญหาระยะยาวไปอีกสิบ ๆ ปีได้เลย" 

.

U.S. Fish and Wildlife Service (USFWS)

.

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังสำรวจแหล่งน้ำด้วยวิธี อิเล็กโทรฟิชชิ่ง(ใช้ไฟฟ้าตรวจจับปลา) ก็ได้พบกับปลาทองตัวดังกล่าว ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ควรจะเป็น

.

"ใครบางคนคงคิดว่าการปล่อยปลาทองลงแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นเรื่องดี แต่ความจริงแล้ว มันอาจกลายเป็นปัญหาที่จะอยู่ไปอีกหลายทศวรรษเลยละ"

USFWS ระบุในโพสต์ของพวกเขา

.

U.S. Fish and Wildlife Service (USFWS)

.

ปลาทองที่ถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติเติบโตได้เร็วกว่าปกติ เพราะไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่เช่นการถูกเลี้ยงในตู้ปลา และสามารถแย่งอาหารจากปลาพื้นเมือง ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ 

.

"ปลาทองในธรรมชาติสามารถเจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่เท่ากับลูกฟุตบอล พวกเขาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้แหล่งน้ำขุ่น แย่งอาหารจากปลาเจ้าถิ่น และอาจพกพาเชื้อโรคมาสู่ปลาพื้นเมืองได้อีกด้วย"

USFWS กล่าว

.
นอกจากนี้ ปลาทองยังสามารถวางไข่ได้หลายรอบต่อปี และไม่มีนักล่าตามธรรมชาติ ทำให้พวกเขาเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำได้ยาวนานอีกด้วย USFWS แนะนำว่าหากไม่สามารถดูแลปลาทองในตู้ต่อได้ ควรหาทางออกที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ เช่น หาบ้านใหม่ให้ปลาทอง โดยติดต่อผู้ที่ต้องการรับเลี้ยง นำปลาทองกลับไปคืนที่ร้านขายสัตว์เลี้ยง หรือสอบถามศูนย์ช่วยเหลือสัตว์น้ำ และที่สำคัญอย่าปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติเด็ดขาด!

U.S. Fish and Wildlife Service (USFWS)

.

"การปล่อยสัตว์เลี้ยงในแหล่งธรรมชาติไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง สัตว์ส่วนใหญ่มักไม่รอด และต้องทนทุกข์ทรมานก่อนตาย แต่หากพวกเขารอดก็อาจกลายเป็นสายพันธุ์รุกรานที่ทำเป็นตัวการทำลายระบบนิเวศ"

USFWS เตือน 

.
กรณีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ปลาทองกลายเป็นปัญหา เพราะก่อนหน้านี้ "ปลาทองล้านตัว" ได้แพร่พันธุ์ในทะเลสาบ Great Lakes จนกลายเป็นประเด็นใหญ่ของนักอนุรักษ์มาแล้ว ส่วนในประเทศไทยก็เช่นกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ! ซึ่งเริ่มต้นจากการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ก่อนหลุด หรือ ถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนทำลายระบบนิเวศอย่างหนัก

U.S. Fish and Wildlife Service (USFWS)

.

ดังนั้นหากคิดจะปล่อยสัตว์เลี้ยงในแหล่งธรรมชาติ ต้องทบทวนให้รอบคอบ ศึกษาข้อมูลให้แน่ใจ หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะจาก "สัตว์เลี้ยงที่น่ารัก" อาจกลายเป็น "ปัญหาระดับประเทศ" ได้โดยไม่รู้ตัว

.

.

.

 

.
ช่วยกดไลก์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ Dog’s Clip ด้วยนะครับ
หากมีประสบการณ์ หรือเรื่องราวที่น่าสนใจของเหล่าเพื่อนสัตว์
อย่าลืมส่งมาแบ่งปันด็อกคลิปนะครับ เรื่องราวของคุณอาจสร้างแรงบันดาลใจ
หรือช่วยให้เหล่าเพื่อนสัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
กดเพื่อเข้าร่วมกลุ่มด็อกคลิป , กดเพื่อส่งเรื่องราวของคุณ หรือติดแฮชแท็ก #dogsclip 

..................................................................
บทความโดย dogsclip.com

“บทความถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่ด้วยสำนวนของด็อกคลิป บทความมีลิขสิทธิ์ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก และ หรือ ดัดแปลงนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อสร้างรายได้ก่อนได้รับอนุญาต”

.

.