“กู๊ดบอยยย” ภูเขาริมแม่น้ำแยงซี เหมือนน้องหมาจุด ๆ

...กำลังโหลดข้อมูล...

.

.

.

"เห็นเป็นน้องหมามั้ย?" คำถามที่ทำให้ภูเขาริมแม่น้ำแยงซี กลายเป็นหมุดหมายยอดฮิตของนักท่องเที่ยวผู้รักสัตว์ หลังภาพภูเขาคล้ายน้องหมากลายเป็นไวรัลบนโซเชียล

.

ต้นเรื่องมาจากความช่างสังเกตของ "กัว ฉิงซาน" นักออกแบบจากเซี่ยงไฮ้ ระหว่างที่เธอเดินทางกลับบ้านเกิดที่เมืองอี๋ชาง มณฑลหูเป่ย ช่วงปลายเดือนมกราคม 2568 ได้พบว่าภาพถ่ายติดภูเขาข้างทางดูเหมือนน้องหมาที่กำลังนอนราบดื่มน้ำ ก่อนจะโพสต์รูปดังกล่าวบน "RedNote" พร้อมแคปชั่นว่า "Puppy Mountain" 

Tan Yuanyi via AP

.

เท่านั้นแหละ! ภูเขาข้างทางที่ไม่เคยมีคนสนใจกลับดังเป็นพลุแตก ผู้ใช้งานแห่แชร์และงัดภาพน้องหมาที่บ้านมาเทียบกันใหญ่ บางคนถึงกับต้องนั่งไล่ย้อนดูภาพเก่า ๆ ก่อนพบว่าก็เคยเดินทางผ่านภูเขาลูกนี้เหมือนกัน แต่ไม่ทันสังเกตว่าเหมือนน้องหมา

.

"ฉันตื่นเต้นมากเลยตอนที่รู้ว่าภูเขาลูกนั้นดูเหมือนน้องหมา ลักษณะมันดูคล้ายน้องกำลังนอนราบมองปลา ดื่มน้ำ หรืออาจจะกำลังปกป้องแม่น้ำแยงซีอยู่ก็ได้นะ"

กัวกล่าว

.

จากนั้นนักท่องเที่ยวก็เริ่มหลั่งไหลเดินททางไปยัง "ภูเขาน้องหมา" ในเมืองอี๋ชาง โดยเฉพาะคนรักน้องหมาอย่าง "หยางหยาง" เธอขับรถนานกว่า 1 ชั่วโมงครึ่งเพื่อพาน้องหมาคู่ใจแวะไปถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก

Tan Yuanyi via AP

.

"ฉันดีใจมากที่ได้แวะมาเห็นภูเขาน้องหมากับตาตัวเอง ฉันชอบพาน้องหมาออกไปเที่ยวอยู่แล้ว "

หยางหยางกล่าว
.

ไม่ใช่แค่หยางหยาง "ฉือถง" คนพื้นที่ยังเข้ามาคอมเมนต์ด้วยว่า เคยสังเกตเห็นตั้งแต่ปี 2564 แล้ว "มันดูเหมือนน้องหมาจริงๆ" แต่ทว่าตอนนั้นยังไม่มีใครสนใจเท่าไหร่นัก จนกระทั่งภาพของกัวทำให้มันโด่งดัง

Tan Yuanyi via AP

.

ตอนนี้ภูเขาน้องหมากลายเป็นแลนด์มาร์คใหม่สำหรับคนรักสัตว์ในจีนไปแล้ว ใครมีโอกาสไปเที่ยวเมืองอี๋ชาง อย่าลืมแวะไปแชะภาพมาฝากชาวด็อกคลิปนะครับ
.

.

.

 

.
ช่วยกดไลก์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ Dog’s Clip ด้วยนะครับ
หากมีประสบการณ์ หรือเรื่องราวที่น่าสนใจของเหล่าเพื่อนสัตว์
อย่าลืมส่งมาแบ่งปันด็อกคลิปนะครับ เรื่องราวของคุณอาจสร้างแรงบันดาลใจ
หรือช่วยให้เหล่าเพื่อนสัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
กดเพื่อเข้าร่วมกลุ่มด็อกคลิป , กดเพื่อส่งเรื่องราวของคุณ หรือติดแฮชแท็ก #dogsclip 

..................................................................
บทความโดย dogsclip.com

“บทความถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหม่ด้วยสำนวนของด็อกคลิป บทความมีลิขสิทธิ์ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก และ หรือ ดัดแปลงนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อสร้างรายได้ก่อนได้รับอนุญาต”

.

.